ระบบรับสมัครนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคนคุณภาพสูงเพื่อรองรับอัตรากำลังที่ขาดแคลน

การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาในโครงการความร่วมมือ)

คุณสมบัติทั่วไป

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย
  2. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  3. เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา
  4. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกลงโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึง ที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  5. ไม่เป็นภิกษุ สามเณร

คุณสมบัติเฉพาะหลักสูตร

  1. สามารถฝึกอาชีพตามหลักสูตรฯ ในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ตามสถานที่และระยะเวลาที่กำหนด
  2. ต้องลงทะเบียนเรียนตามแผนการเรียนที่ปรากฎอยู่ในคู่มือการจัดการศึกษาและไม่สามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ในทุกกรณี

คุณสมบัติด้านการศึกษา

  1. เป็นผู้กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาสำรวจ ชั้นปีที่ 3 หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาสำรวจ

คุณสมบัติด้านสุขภาพ

  1. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคประจำตัว ที่มีอาการของโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติหน้าที่
  2. เป็นผู้ที่ไม่มีประวัติเสพสารเสพติดทุกชนิด

หัวข้อการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ

หมวดความรู้ทั่วไป

  1. กลุ่มสมรรถนะทางสังคมและการดำรงชีวิต (หน้าที่พลเมือง ประวัติศาสตร์ชาติไทย )
    • คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม
    • วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
    • ประวัติศาสตร์ไทย
  2. กลุ่มวิชาภาษาไทย
    • การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
    • การอ่านจับใจความสำคัญ
    • การสรุปความ
    • การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
  3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
    • ร้อยละ เปอร์เซ็นต์
    • อัตราส่วน
    • สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
    • ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
    • ความคิดรวบยอด
    • ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
    • อนุกรม
  4. หมวดวิชาภาษาอังกฤษ
    • บทสนทนา (Conversation)
    • คำศัพท์และสำนวน (Vocabulary and Expression)
    • โครงสร้างประโยค (Structure)
    • การอ่านบทความต่างๆ (Reading)

หมวดความรู้ทางด้านการสำรวจ

  1. ความรู้เบื้องต้นในงานสำรวจ
  2. หลักการสำรวจ
  3. การวัดระยะ
  4. มาตราส่วนของแผนที่

หมวดความรู้ทางด้านการระดับ

  1. หลักการของการระดับ
  2. การทำระดับโดยตรง โดยอ้อม
  3. การปรับแก้ค่าระดับเบื้องต้น
  4. การทำระดับเพื่อหารูปตัดตามยาว - ตามขวาง
  5. การเขียนเส้นชั้นความสูง
  6. การกำหนดค่าระดับในงานก่อสร้าง

หมวดความรู้ทางด้านการคำนวณแผนที่

  1. การคำนวณเนื้อที่ของรูปเหลี่ยม
  2. การนำกฎของไซน์ โคไซน์แทนเจนท์มาประยุกต์ใช้ในงานคำนวณแผนที่
  3. การคำนวณเนื้อที่จากแผนที่
  4. การคำนวณพิกัดฉากของวงรอบ
  5. การคำนวณพิกัดฉากหมุดอ้างอิงหรือหมุดรายละเอียด
  6. การคำนวณหาเนื้อที่โดยใช้ค่าระยะฉากและค่าพิกัดฉากแผนที่

หมวดความรู้ทางด้านเขียนแบบวิศวกรรมสำรวจ

  1. องค์ประกอบของแผนที่
  2. การใช้มาตราส่วน การลงที่หมายแผนที่
  3. การเขียนแบบสำรวจ แบบก่อสร้างและโยธา
  4. การเขียนภาพตัดตามยาว(Profile) และภาพตัดตามขวาง(Cross-Section)
  5. การเขียนเส้นชั้นความสูง

หมวดความรู้ทางด้านการสำรวจเส้นทาง

  1. ระบบขนส่งและทางหลวง
  2. การสำรวจเส้นทางเบื้องต้น
  3. การคำนวณโค้งราบแบบวงกลมและโค้งดิ่ง
  4. การทำระดับในงานสำรวจเส้นทาง